คุณกำลังมองหาอะไร?

ปพ.ร่วมกับกลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ ร่วมจัดประชุมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

24.05.2567
16
0
แชร์
24
พ.ค.
2567

      วันที่ 24 พฤษภาคม  2567 นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์  ผู้ช่วยอธิบดรกรมอนามัย และผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ เป็นประธานการประชุมปรึกษาหารือแนวทางการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ ห้องประชุมสำนักส่งเสริมสุขภาพ อาคาร 7 ชั้น 3 กรมอนามัย และผ่านระบบประชุมทางไกล (Video Conference) ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้บริหารกรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กจากศูนย์อนามัยที่ 1-12  สสม  และศอช. จำนวน 30 คน

      ประธานได้แจ้งถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กเน้นให้มีการบูรณาการการดำเนินงานโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร การนำเสนอการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัยในประเทศไทย และได้แจ้งให้ที่ประชุมได้ทราบถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมา ที่มีการนำรูปแบบการดำเนินงานโครงการมหัศจรรย์ 2,500 วัน มาเป็นรูปในการดำเนินงาน  มีการนำเสนอสถานการณ์ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก สรุปประเด็นจากการประชุม MCH Board ชาติ ที่มีการสั่งการให้กรมอนามัยจัดทำ แนวทาง One Provine One Labor room  และนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานโครงการป้องกันสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยชุมชน เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ของกระทรวงมหาดไทยทีการดำเนินงานที่ผ่านมา  ซึ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่และผู้นำชุมชน อสม. เป็นต้นให้มีบทบาทการเฝ้าระวังภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และแนวทางปฏิบัติการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด  ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ร่วมกับผู้บริหารจากส่วนกลาง ผู้บริหารจากศูนย์อนามัย และผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็กของศูนย์อนามัย ที่ประชุมมีมติ 1. ให้มีการจัดทำบทวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของแม่และเด็ก ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อนำเข้าที่ประชุมวันที่ 5 มิ.ย. 2567 กับทางทีมอาจารย์ศิริราช 2. จัดทำคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานอนามัยแม่และเด็ก กรมอนามัย ที่มีศูนย์อนามัยและหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน  3. ระดับเขตสุขภาพให้มีการใช้กลไกของ MCH Board มาร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อลดการคลอดกาอนกำหนด และการใช้งบประมาณ PPA มาสนับสนุนการดำเนินงาน

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน