คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การเข้าร่วมงานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

01.02.2566
4
0
แชร์
01
กุมภาพันธ์
2566

 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 นำโดยนายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย ทันตแพทย์หญิงศิรดาเล็กอุทัย หัวหน้ากลุ่มอนามัยวัยทำงาน และนักวิชาการกลุ่มอนามัยวัยทำงาน ได้เข้าร่วมศึกษาและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) ในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิกาญจนบารมี มีผู้เข้าร่วมกิจกรมม ได้แก่ เจ้าหน้าที่มูลนิธิกาญจนบารมี ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา นักวิชาการจากรมอนามัยสตรีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 200 คน

สรุปสาระสำคัญ การดำเนินงานคัดกรองมะเร็งเต้านมของทางมูลนิธิกาญจนบารมี ขั้นตอนที่ 1 จุดลงทะเบียน - เจ้าหน้าที่รพ.สต.และเขตเทศบาล คัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นและส่งตัวสตรีกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติ เข้าสู่ระบบการตรวจคัดกรองของมูลนิธิกาญจนบารมี ขั้นตอนที่ 2 จุดตรวจเต้านม - การตรวจคัดกรองเบื้องต้นโดยใช้แบบคัดกรองของมูลนิธิกาญจนบารมี - จุดให้ความรู้ทางสุขศึกษาเกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ขั้นตอนที่ 3 ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) - เมื่อตรวจพบความผิดปกติจะนำผู้ป่วยส่งตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ (Mammogram) โดยนักรังสีการแพทย์ ขั้นตอนที่ 4 พบแพทย์ - แพทย์ตรวจวินิจฉัย และออกเอกสารใบส่งตัวให้กับผู้ป่วยที่พบความผิดปกติ เพื่อให้ผู้ป่วยนำเอกสารไปใช้รักษาตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วย ขั้นตอนที่ 5 ติดตามผลการรักษา - เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ของรพ.สต.ฉะเชิงเทรา ดำเนินการโทรติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย เพื่อความต่อเนื่องในการรักษา โดยใช้รูปแบบ Service Plan การดำเนินงานต่อไป 1. พัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลการตรวจมะเร็งเต้านม ให้สามารถเชื่อมโยงตั้งแต่การคัดกรองจนถึงการส่งต่อ เพื่อรับการรักษาตามระบบ 2. จัดทำ Flow Chart กระบวนการทำงานระหว่างกรมอนามัย ร่วมกับมูลนิธิกาญจนบารมี

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน